ดอลลาร์สหรัฐทรงตัว ตลาดจับตาดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐพรุ่งนี้ - Blogs - Siam Brandname Forum

กรณีฉ้อโกงต้องการเอกสารดำเนินคดีทางกฎหมายทำอย่างไร       การสร้าง สินค้าแฟชั่น สู่สินค้าแฟชั่นแบรนด์เนม ความรู้ที่ได้จากชุมชน SBN บทที่1       สมาชิกเก่า สมาชิกใหม่ อ่านหรือยัง สำคัญมากครับ <--"คลิ๊กที่นี่"             

บล็อกการเงิน

ดอลลาร์สหรัฐทรงตัว ตลาดจับตาดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐพรุ่งนี้

Rate this Entry
ดอลลาร์สหรัฐทรงตัว ตลาดจับตาดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐพรุ่งนี้
ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/5) ที่ระดับ 31.09/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/5) ที่ระดับ 31.10/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงซึมซับปัจจัยของการเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปลายสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐออกมาอ่อนแอ
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้เรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐช่วยเหลือพนักงานในการเข้าถึงวัคซีนและเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงาน พร้อมกับพยายามโน้มน้าวให้ภาคเอกชนสมทบเงินในโครงการช่วยหลือรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลในรัฐต่าง ๆ คิดเป็นวงเงิน 3.50 แสนล้านดอลลาร์ โดยกล่าวว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ปกครองมีสถานรับเลี้ยงเด็กมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครองเหล่านี้สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติได้ ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนของสหรัฐในวันพุธนี้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบรายปี
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 เทียบกับระดับ 47.5 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวลดลงทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคตในทุกภาคและทุกอาชีพ
โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับตัวลดลงจากระดับ 40.2 มาอยู่ที่ระดับ 36.4 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต ปรับลดลงจากระดับ 52.3 มาอยู่ที่ระดับ 48.2 โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.05-17 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 31.10/12 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (11/5) ที่ระดับ 1.2133/35 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/5) ที่ระดับ 1.2164/66 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังนาย Francoisn de Galhau หนึ่งในคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาให้ความเห็นสนับสนุนให้ ECB ยังคงวงเงินการซื้อขายพันธบัตรในตลาดรองออกไปถึงเดือนมีนาคม 2022 แม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะเริ่มฟื้นตัวแล้วก็ตาม โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยูในกรอบระหว่าง 1.2122-1.2167 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.2166/67 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/5) ที่ระดับ 108.89/90 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันจันทร์ (10/5) ที่ระดับ 108.75/77 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนอ่อนค่า หลังการเปิดเผยรายงานสรุปการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประจำเดือน เม.ย.
ซึ่งมีการเผยแพร่ในวันนี้ระบุว่า กรรมการ BOJ เล็งเห็นความจำเป็นในการขยายระยะเวลาในการใช้นโยบายผ่อนคลายการเงิน เพื่อช่วยให้ BOJ สามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ขณะเดียวกันมีกรรมการอีกส่วนหนึ่งเห็นว่า BOJ ควรพิจารณาแนวทางที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 108.75-108.98 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 108.85/87 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายงานดัชนีความอ่อนไหวทางเศรษฐกิจแห่งสหภาพยุโรปจากสถาบัน ZEW (11/5), ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ของสหรัฐ จากสถาบัน JOLTS (11/5), การแถลงการณ์ของเบลีย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งสหราชอาณาจักร (11/5), รายงานดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหราชอาณาจักร (12/5), การคาดการณ์เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (12/5), รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมแห่งสหภาพยุโรป (12/5), รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของสหรัฐ (12/5),
รายงานคลังสินค้าน้ำมันดิบของสหรัฐ (12/5), การประมูลพันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐ (13/5), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ (13/5), ดัชนีราคาผู้ผลิตเทียบเดือนต่อเดือนของสหรัฐ (13/5), การประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีของสหรัฐ (14/5), ดัชนียอดขายปลีกพื้นฐานของสหรัฐ (14/5), รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของสหรัฐ (14/5) และรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐ (14/5)
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ 0.55/0.65 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.00/0.50 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
Tags: None Add / Edit Tags
Categories
Uncategorized

Comments