อ่านเจอความเห็นของบอร์ดนึงครับ อยากให้อ่าน
ความเห็นของคุณแมวสามขา
"โอ..ดีจังเลย คนรู้กฏหมายกันทั้งนั้น อย่างนี้ประเทศไทยคงเจริญ
พอดีผมมีเคสครับ คดีกระทำความผิดด้วยระบบคอมพิวเตอร์นี่แหละ โชคดีว่าผมอยู่ฝ่ายโจทก์ แจ้งความคดีอาญา,แล้วฟ้องคดีปกครองด้วย (อีกฝ่ายเป็นหน่วยงานรัฐบาล) เขาว่าถ้าอาญาหรือปกครองจบแล้วยังฟ้องแพ่งต่อได้
ตอนนี้เราใช้เวลากับคดีนี้มาปีกว่าแล้ว ใช้เงินค่าทนาย รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกประมาณสามสี่แสนแล้วครับ ทางคดีอาญายังไม่ถึงชั้นอัยการเลย ส่วนคดีปกครองก็เพิ่งไต่สวนมูลฟ้อง
สรุปว่ายังไม่รู้ว่าจะฟ้องได้ไหม
นั่นขนาดว่าเซิร์ฟเวอร์อยู่ในเมืองไทย มีตำแหน่งแห่งที่แน่นอน กว่าจะตกลงได้ว่ามันขึ้นกับโรงพักไหนศาลไหนแน่ก็ยุ่งแล้ว เพราะสถานที่เกิดเหตุอยู่ที่หนึ่ง บุคคลที่กระทำความผิดอยู่อีกที่หนึ่ง
ที่ตลกอีกเรื่องก็คือกฏหมายบังคับให้ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ต้องเก็บบันทึกจราจรคอมพิวเตอร์ไว้อย่างน้อย 90 วัน แต่ถ้าสมมติว่าเหตุเกิดวันนี้ กว่าคุณจะขอหมายศาลเพื่อขอจราจรคอมพิวเตอร์นี่ได้ ผมรับรองไ้ด้ว่าเกิน 90 วัน เท่ากับว่าไม่มีทางได้หลักฐานในวันเกิดเหตุครับ ผมเจอมากับตัวแล้ว ส่วนถ้าจะขอแบคอัพในวันเกิดเหตุ อันนี้ไม่มีกฏหมายบังคับว่าเซิร์ฟเวอร์ต้องมีแบคอัพ เท่ากับว่าฝ่ายเซิร์ฟเวอร์อ้างได้ว่าไม่มี หรือถ้าจะขอหยุดเครื่อง นี่เรื่องใหญ่เลย เพราะแต่ละเครื่องมันมีหลายระบบ ศาลจะไม่บังคับหยุดเครื่องครับเพราะมันกระทบระบบอื่นด้วย เท่ากับว่าฝ่ายเซิร์ฟเวอร์ยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือลบข้อมูลได้ตลอดเวลาครับ ถ้าฝ่ายฟ้อง capture หน้าจอเก็บไว้เป็นหลักฐาน ถึงเวลาก็ต้องมาพิสูจน์กันว่าไฟล์ดิจิตอลที่แคปไว้นั่นเป็นของจริงหรือของปลอมอีก แต่กลับกันคือฝ่ายผู้ถูกฟ้องยังใช้งานเซิร์ฟเวอร์ได้ตามปกติ ถ้าดูว่าอาการไม่ดีก็แค่ลบข้อมูลออกจากเครื่องก็จบ เพราะคราวนี้ฝ่ายผู้ฟ้องต้องหาทางพิสูจน์ให้ได้ว่าไอ้หลักฐานที่ตัวเองถือๆ อยู่นี่น่ะมันเคยปรากฏในเซิร์ฟเวอร์เครื่องนั้นมาก่อน ไม่ใช่ตัวเองใช้โฟโต้ชอปสร้างขึ้นมาเอง
กฏหมายพวกนี้น่ะีมีอยู่ครับ แต่ปัจจุบันยังไม่มีวิธีบังคับใช้ และไม่มีวิธีมาตรฐานในการพิจารณา ใครอยากลองฟ้องดูก็ได้นะครับ ยิ่งถ้าฝ่ายผู้ฟ้องกับจุดเกิดเหตุอยู่กันคนละจังหวัดยิ่งสนุกครับ เพราะผู้ฟ้องต้องเดินทาง (ด้วยสตางค์ตัวเอง) ไปฟ้องในท้องที่ที่เกิดเหตุ แล้วอีกเดือนนึงพอเขาเรียก ผู้ฟ้องก็ต้องเดินทางไปให้ปากคำครึ่งวัน เดินทางกลับบ้าน แล้วก็ต้องทำซ้ำๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าตำรวจจะเห็นว่าหลักฐานเพียงพอที่จะส่งใ้ห้อัยการ ในชั้นนี้ผู้ฟ้องจะเสียแต่ค่าเดินทาง ถ้ามันเป็นคดีอาญาตำรวจเขาก็จะรับเรื่องต่อไปเอง แต่เท่าที่ผ่านมาผมยังไม่เห็นว่าที่คุยๆ กันนี่มันจะไปเป็นคดีอาญาตรงไหน ดังนั้นถ้าอยากฟ้องมันน่าจะต้องฟ้องแพ่ง ซึ่งคราวนี้นอกจากค่าเดินทางแล้วผู้ฟ้องยังต้องเสียท่าทนายเองอีก แล้วไหนจะขั้นตอนไกล่เกลี่ยอีก ซึ่งเอาแค่ว่าฝ่ายผู้ฟ้องเสียสตางค์เดินทางมาแล้ว เสียค่าทนายมาด้วยกันแล้ว พอวันจริงฝ่ายผู้ถูกฟ้องส่งเป็นจดหมายขอเลื่อนหน้าตาเฉยก็มี แล้วคดีคอมพิวเตอร์นี่ต้องมีความเห็นผู้เชี่ยวชาญประกอบ (ไม่งั้นตำรวจเขาจะรู้ได้ไงว่าไอ้หลักฐานที่มันเป็นคอมพิวเตอร์นี่มันจริงหรือปลอม แล้วมันชี้ความผิดจริงหรือเปล่า ฯลฯ) ซึ่งในเบื้องต้นฝ่ายผู้ฟ้องต้องรับผิดชอบหามา (จ่าย) ก่อนแหละครับเพื่อมาเป็นพยานโจทย์ แล้วพอไปถึงศาล ศาลก็คงต้องให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญมาอีกซึ่งยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
อ้อๆ ลืมไป ผมเคยแจ้งความจับผู้ร้ายคดีฉ้อโกงด้วยละ มีเอกสารหลักฐานเรียบร้อย รู้ตัวผู้กระทำความผิดรวมถึงถิ่นฐานภูมิลำเนาชัดเจน ว่าไปคือมีกระทั้งสำเนาับัตรประชาชนของผู้กระทำความผิด รู้ไหมครับว่าตำรวจทำอย่างไร เขาก็จะส่งจดหมายไปที่บ้านผู้ร้าย แล้วก็แจ้งให้มาให้ปากคำที่สถานีตำรวจ ไม่เช่นนั้นท่านอาจมีความผิดฐาน....บลาๆๆ เอ่อ..ก็เท่านั้นแหละครับ ถ้ามันไม่บังเอิญเดินเซ่อซ่าเข้ามาจ่ายค่าใบสั่งที่สถานีนี้ มันก็คงยังมีความสุขอยู่ต่อไปตลอดชั่วอายุขัยมัน นี่โชคดีว่าผมไม่ทะลึ่งฟ้องแพ่งต่อนะ ไม่งั้นไม่รู้ว่าผมต้องหมดอีกกี่สตางค์
เล่าประสบการณ์ให้ฟังครับ สำหรับคนอยากฟ้อง แนะให้ลองฟ้องดูสักทีครับ จะได้รับรู้รสชาดของชีวิต"
ที่มา
http://www.thaitaiji.com/forum/viewt...1187&start=220